[แอนิเมชั่น] ดวงอาทิตย์มีอายุเท่าไร?
ซีรีส์วิดีโอแอนิเมชั่นดาราศาสตร์ของ หอดูดาวกรีนนิช (Royal Observatory Greenwich) ของอังกฤษ ตอนที่สองครับ (ตอนแรก: ภายใน Black Hole มีอะไร?)
ซีรีส์วิดีโอแอนิเมชั่นดาราศาสตร์ของ หอดูดาวกรีนนิช (Royal Observatory Greenwich) ของอังกฤษ ตอนที่สองครับ (ตอนแรก: ภายใน Black Hole มีอะไร?)
นับจากเดือนนี้ (สิงหาคม พ.ศ. 2556) ไปอีกประมาณ 3-4 เดือน ดวงอาทิตย์จะเกิดปรากฏการณ์ครั้งใหญ่ นั่นคือการกลับขั้วของสนามแม่เหล็กของดวงอาทิตย์
Todd Hoeksema นักฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ดอธิบายว่า ปรากฏการณ์สนามแม่เหล็กของดวงอาทิตย์กลับขั้วเป็นเรื่องปรกติ มันเกิดขึ้นในช่วงจุดสูงสุดของ Solar Maximum อันเป็นช่วงที่มีจุดดับเกิดบนดวงอาทิตย์เยอะที่สุดและดวงอาทิตย์พ่นรังสีอนุภาคออกมามากที่สุดในทุกๆ วัฏจักร 11 ปี (Solar Cycle) ซึ่งวัฏจักรรอบปัจจุบันครั้งนี้ก็นับเป็น Solar Cycle 24 แล้ว
เมื่อปี 2011 นักดาราศาสตร์เจอดวงจันทร์ดวงที่สี่ของพลูโต ล่าสุดเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2012 กล้องโทรทรรศน์ Hubble Space Telescope (ซึ่งเป็นกล้องตัวเดียวกันที่พบดวงจันทร์ดวงที่สี่) ก็พบว่าพลูโตมีดวงจันทร์อีกดวง ทำให้ในตอนนี้พลูโตมีดวงจันทร์เป็นบริวารถึง 5 ดวง
ดวงจันทร์ดวงที่ห้าได้ชื่อเรียกไปพลางๆ ก่อนว่า "P5" เหมือนกับรุ่นพี่ดวงที่สี่ที่จนป่านนี้ก็ยังใช้ชื่อว่า "P4"
P5 มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 10-25 กิโลเมตรและสว่างเพียงครึ่งหนึ่งของ P4 หรือถ้าเทียบกับพลูโต มันก็สว่างน้อยกว่าประมาณแสนเท่า
ขณะที่โคจรรอบใจกลางกาแล็กซี่ทางช้างเผือก ดวงอาทิตย์ของเราจะเคลื่อนที่ผ่านก๊าซในอวกาศ (interstellar gas) อยู่ตลอดเวลา บางทีก็โดนเศษละอองจากการระเบิดของซุปเปอร์โนวาบ้างอะไรบ้าง ปัจจุบันดวงอาทิตย์ (หรือทั้งระบบสุริยะของเรา) กำลังเคลื่อนที่อยู่ในกลุ่มก๊าซที่เรียกว่า Local Cloud
เวสต้า (Vesta) เป็นหนึ่งในดาวเคราะห์น้อย (asteroid) ขนาดใหญ่ในแถบดาวเคราะห์น้อย (Asteroid belt) ที่อยู่ระหว่างดาวอังคารกับดาวพฤหัส คำจำกัดความของการเป็นดาวเคราะห์น้อยกับดาวเคราะห์แคระ (dwarf planet) แบบพลูโตนั้นถูกกั้นไว้เพียงเส้นบางๆ และจากภาพถ่ายล่าสุดของเวสต้าที่ส่งมาจากยานอวกาศ Dawn ของ NASA นักดาราศาสตร์ก็เริ่มจะลังเลใจแล้วว่าควรเลื่อนตำแหน่งให้เวสต้าจากดาวเคราะห์น้อยไปเป็นดาวเคราะห์แคระดีหรือไม่
ในจักรวาลแห่งนี้ เป็นเรื่องปรกติที่ของเล็กๆ จะโคจรรอบของที่ใหญ่กว่า และแม้ว่าดวงอาทิตย์จะใหญ่มากจนโลกเราต้องโคจรรอบมัน แต่มันก็เป็นเพียงแค่ดาวฤกษ์ธรรมดาๆ ที่โคจรไปรอบๆ กาแล็กซี่ทางช้างเผือกอีกต่อหนึ่งเท่านั้น
ทีมนักดาราศาสตร์ที่นำโดย David Nesvorny จาก Southwest Research Institute ในรัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกา ได้ศึกษาเทหวัตถุที่ล่องลอยใน Kuiper Belt และร่องรอยการชนของอุกกาบาตบนพื้นผิวดวงจันทร์ พวกเขาพบว่าในช่วงแรกๆ ประมาณ 600 ล้านปีหลังจากระบบสุริยะถือกำเนิด มีความไม่เสถียรทางพลวัตร (dynamical instability) เกิดขึ้นในระบบวงโคจร ส่งผลให้วัตถุอวกาศในวงโคจรชั้นนอก เช่น ดาวเคราะห์ยักษ์ทั้งสี่ดวง (ดาวพฤหัส, ดาวเสาร์, ดาวยูเรนัส, ดาวเนปจูน) และเศษวัตถุชิ้นเล็กชิ้นน้อยทั้งหมดเคลื่อนที่ห่างออกจากกัน บางชิ้นก็เคลื่อนขยับเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้น บางชิ้นก็เคลื่อนห่างออกไป
อีริส (Eris) คือดาวเคราะห์แคระที่ฝากชื่อไว้จากการเป็นผู้ปลดฐานะดาวเคราะห์ออกจากพลูโต และถึงแม้ว่าเราจะรู้ขนาดโดยคร่าวๆ ของมันก็ตาม แต่ต้องยอมรับว่าเรารู้รายละเอียดเกี่ยวกับมันน้อยมาก
นักวิทยาศาสตร์รู้อยู่เต็มอกว่าโลหะต่างๆ เช่น ทองคำ นิกเกิล แพลทตินัม ทังสเตน อิริเดียม เป็นต้น มีแนวโน้มชอบเข้าไปหลอมรวมอยู่กับแร่เหล็กซึ่งหลอมเหลวอยู่ตรงใจกลางโลก ซึ่งนั่นก็หมายความว่า เราไม่ควรจะพบโลหะพวกนี้บนพื้นผิวโลกเลย หรือถ้าพอจะมี ก็ควรมีอยู่น้อยมากๆ ไม่ใช่มีพอให้ขุดทำเป็นเหมืองกันทั่วโลกแบบที่เป็นอยู่ทุกวันนี้
ดังนั้นจึงมีคนคิดทฤษฎีหนึ่งขึ้นมาโดยอธิบายว่าโลหะที่เราขุดมาซื้อขายกันแทบเป็นแทบตายทุกวันนี้จะต้องตกลงมาจากฟากฟ้าเมื่อ 3.8-4.0 พันล้านปีก่อน แต่อ๊ะ! มันไม่ได้ถูกพระเจ้าหรือเง็กเซียนฮ่องเต้โปรยลงมาหรอกนะ
อ่านหัวข่าวแล้วอย่าเพิ่งงงนะครับ ที่ว่า 1 ขวบก็คือ 1 ขวบนับตามเวลาของดาวเนปจูน นั่นคือเนปจูนโคจรรอบดวงอาทิตย์หนึ่งรอบใช้เวลา 164.79 ปี!
ดาวเนปจูนถูกค้นพบผ่านการคำนวณวงโคจรของดาวยูเรนัส และยืนยันด้วยหลักฐานทางคณิตศาสตร์เมื่อวันที่ 23 กันยายน 1846 โดยนักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศสชื่อ Urbain Le Verrier
ถ้าเอาวันที่ 23 กันยายน 1846 เป็นวันเกิดของดาวเนปจูน (ต่อชาวโลก) แล้วบวกด้วย 164.79 ปี จะได้ว่าเนปจูนมีอายุ 1 ขวบเมื่อวานนี้ (12 กรกฎาคม 2011) พอดี